#3 องค์กรจะป้องกันไม่ให้พนักงานหมดไฟได้อย่างไร?| How organization prevent burnout

เมื่อเรารู้จักความเครียดและภาวะหมดไฟของเราแล้ว เราจึงค่อยย้อนกลับมาดูถึงวิธีการรับมือโดยปกติของเรา ทดลองและเรียนรู้ว่าสิ่งใดช่วยได้มากที่สุด

ตอนที่ 3: ป้องกันก่อนจะหมดไฟ

โดย นักจิตวิทยาการปรึกษา คุณเจ เจษฎา กลิ่นพูล | Counseling Psychologist @ ใจฟูบริการดูแลสุขภาพใจพนักงานสำหรับองค์กร

การจะป้องกันภาวะหมดไฟก็เหมือนกับการที่ต้องย้อนกลับไปที่การรู้จักบริหารจัดการความเครียดของเราให้เหมาะสมเสียก่อน ขั้นแรกเราอาจต้องรู้จักสัญญาณของความเครียดและภาวะหมดไฟที่ประดังประเดเข้ามา เราอาจต้องรู้ตัวเสียก่อนว่าระดับน้ำในแก้วนั้นมีมากน้อยแค่ไหน

จับสังเกตความเครียด และภาวะหมดไฟ

1. สังเกตระดับความเครียด

การสังเกตสัญญาณของความเครียดก็เป็นสิ่งที่ผมกล่าวถึงไปก่อนแล้วใน ตอนที่ 1: รู้จักความเครียด ก่อนความเครียดจัดการเรา แต่เราอาจประเมินได้ดีขึ้นด้วยแบบทดสอบทางจิตวิทยา อย่าง แบบประเมินความเครียด เพื่อประเมินระดับของความเครียดที่มีอยู่ (ทำแบบประเมินสุขภาพใจ คลิกที่นี่)

2. สังเกตสัญญาณภาวะหมดไฟ

การสังเกตสัญญาณของภาวะหมดไฟก็เช่นกัน เราประเมินตัวเองได้จาก 3 อาการ ได้แก่

  • อารมณ์อ่อนล้าหรือหมดกำลังใจ
  • มีความคิดแง่ลบบ่อยๆ
  • มีพฤติกรรมเฉื่อยชาหรือทำตัวห่างเหินจากคนอื่น เป็นต้น

ขณะเดียวกัน เราก็อาจใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาอย่าง แบบประเมินภาวะหมดไฟ Burnout Self-Test เพื่อประเมินตัวเองเบื้องต้นได้ด้วย (ทำแบบประเมินสุขภาพใจ คลิกที่นี่)

ทดสอบภาวะหมดไฟ

รับมือกับความเครียด และภาวะหมดไฟอย่างไร?

เมื่อเรารู้จักความเครียดและภาวะหมดไฟของเราแล้ว เราจึงค่อยย้อนกลับมาดูถึงวิธีการรับมือโดยปกติของเรา ทดลองและเรียนรู้ว่าสิ่งใดช่วยได้มากที่สุด เราอาจเปลี่ยนแปลงวิธีการไปเรื่อยๆ ก็ได้ แต่สำคัญที่สุด “การพักผ่อน” อาจเป็นกุญแจสำคัญ

1. พักผ่อน

การจัดตารางเพื่อหาเวลาพักผ่อนให้ตัวเองด้วยการทำงานอดิเรกที่ชอบ สังสรรค์กับเพื่อนฝูง ครอบครัว คนรัก หรือแม้แต่การเขียนไดอารี่ บทกลอน โพสต์สเตตัส เดินไปมาระหว่างวัน นั่งสมาธิ เล่นดนตรี เล่นกีฬา จัดห้องนอน จัดห้องทำงาน จัดโต๊ะเก้าอี้ ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมที่กลับมาอยู่กับตัวเองมากขึ้น ก็อาจเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อลดระดับน้ำของเราลงทีละน้อย การเผชิญหน้าแก้ปัญหาอาจทำได้อยู่หากเรามีใจพร้อมและไม่ร้อนรนจนสำลัก

การถอยหนีจากสิ่งกระตุ้นความเครียดเองก็ทำได้เช่นกันหากนั่นไม่ใช่เพื่อการหนีไปตลอดกาลแต่เพื่อพักฟื้นจิตใจของเราเอง

2. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

การปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญอ้านสุขภาพจิต เช่น นักจิตวิทยา หรือ จิตแพทย์ ก็เป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันได้ดีพอๆ กับช่วยเหลือ เพราะหากรู้ว่ามีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเสียก่อนแล้ว เราก็อาจอุดรูรั่วของตัวเองได้ทัน

3. องค์กรที่ทำงานควรให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงาน

ท้ายที่สุด องค์กรหรือสถานที่ทำงานเองอาจเป็นส่วนสุดท้ายที่มีบทบาทมากที่สุดในการป้องกันภาวะเหล่านี้ที่มากจนเกินไป การลงทุนลงแรงขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงานจะกลายเป็นสิ่งที่ช่วยได้มากเพื่อให้พนักงานมีสุขภาพจิตดีและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น และนี่อาจเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดมากกว่าด้วยการปรับปริมาณน้ำที่ไหลเอ่อมายังแก้วแต่ละใบ

สำหรับวิธีการที่องค์กรและผู้บริหารจะดูแลสุขภาพจิตของพนักงานอย่างไรนั้น โปรดติดตามอ่านในตอนต่อ ๆ ไป

Portrait of elegant smiling businesswoman with digital tablet in her hand

อ่านบทความทั้งหมดของ >>> “องค์กรจะป้องกันไม่ให้พนักงานหมดไฟได้อย่างไร?: แค่จัดการความเครียดได้พนักงานก็ไม่หมดไฟในการทำงาน” (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *