3 หลักการสังเกตสุขภาพใจคนใกล้ตัว

เราสามารถสังเกตพฤติกรรมตัวเองได้ง่ายๆ เพื่อสร้างการตระหนักรู้
สิ่งที่เราสามารถ prevent ได้ในเบี้องต้น คือ การรู้จักยับยั้งชั่งใจอย่างมีสติในขั้นต้น หลังจากนั้นการฝึก breathing exercise (ฝึกหายใจ) ก็สามารถที่จะช่วยให้เราเท่าทันอารมณ์หรือ Self-emotions awareness ได้มากขึ้น พอเราเท่ากันอารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เราจะมีความยืดหยุ่นทางจิตใจ (Mental resilience) เพื่อรับมือกับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ได้มากขึ้น แล้วเราเริ่มที่จะรับมือได้ อารมณ์หรือคำพูดไม่ดีที่หลุดออกไปก็จะน้อยลง พอทำเหตุดีแล้วผลที่ดีก็จะตามมา ซึ่งจะสามารถสร้างความสุขให้เกิดขึ้นภายในครอบครัวได้อย่างแน่นอน
3 หลักการสังเกตสุขภาพใจคนใกล้ตัว

ผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิต มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวอย่างไร

ปัญหาสุขภาพจิตภายในครอบครัว ถือเป็น 1 ในปัญหาใหญ่ที่สุดในสถาบันครอบครัวของบ้านเรามาอย่างยาวนาน จริงๆแล้วปัญหาสุขภาพจิตภายในครอบครัวเกิดขึ้นมาตั้งแต่มนุษย์ยุคโบราณที่ต้องอาศัยอยู่ในถ้ำ ล่าสัตว์มาเป็นอาหารเพื่อเอาตัวรอด, ยุคเกษตรกรรม ที่เพาะปลูกเพื่อหาเลี้ยงภายในครอบครัว หรือแม้แต่ในยุคสมัยของการปฏิวัติอุตสาหกรรม เพราะเนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้น จนมายุคปัจจุบันที่เราอยู่ในขณะนี้ การทะเลาะเบาะแว้งภายในครอบครัว ชนเผ่า หรือ เผ่าพันธ์ เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิตทั้งทางตรงและทางอ้อมในบริบทและปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป 

อย่างไรก็ดีประเด็นปัญหาด้านสุขภาพจิตในครอบครัวและสังคมเมืองได้ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันมากขึ้นหลังจาก post-covid19 หรือ New normal ที่ใครหลายๆคนเคยได้ยินกัน เลยเป็นประเด็นที่ผู้เขียนคิดว่าอยากจะลองยกมุมมองด้านผลกระทบบางส่วนที่เกิดขึ้นมาแชร์กับผู้อ่านทุกท่าน ดังต่อไปนี้

1. ความมั่นคงทางจิตใจ

หากมีใครที่อารมณ์ที่แปรปรวนและคาดเดาได้ยากในครอบครัวก็ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบทางจิตใจต่อสมาชิกในครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

2. เกิดความเครียดและภาวะทางใจด้านอื่น ๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบ้านไหนมีเด็ก ซึ่งเด็กเป็นเหมือนผ้าขาวและซึมซับพฤติกรรมจากผู้ใหญ่ได้ง่ายมาก หากเด็กคนไหนต้องเผชิญกับสภาวะความตึงเครียดนานวันเข้า ก็อาจทำให้เด็กเกิดความทุกข์ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก

3. เกิดการเปรียบเทียบและขาดทักษะการแก้ปัญหาทางอารมณ์ (EQ)

หากบ้านไหนที่มีเหตุการณ์ทะเลาะเบาะแว้ง พูดจาไม่ดีต่อกันเป็นนิตย์ ก็อาจจะทำให้สมาชิกภายในครอบครัวเกิดการเปรียบเทียบกับครอบครัวอื่น นั่นหมายถึง ความภาคภูมิใจที่มีต่อครอบครัวก็จะลดน้อยลง พอไม่มีความภาคภูมิใจก็จะรู้สึกไร้ค่า พอรู้สึกไร้ค่าก็จะเกิดความเครียดและหากสะสมไปนานๆก็จะเกิดภาวะซึมเศร้าตามมา พอจิตใจไม่อยู่ในอารมณ์ที่ปกติ การแก้ปัญหาหรือการจัดการอารมณ์ก็จะทำได้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เพราะความทุกข์ได้กดทับฮอร์โมนแห่งความสุขต่างๆอย่าง เอ็นโดรฟิน หรือ โดปามีน เอาไว้

4. เริ่มปลีกตัวออกจากสังคม

เนื่องจากรู้สึกไม่มั่นคงและไม่รู้จะไปปรึกษาใคร เพราะปัญหาครอบครัวเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อน ที่ไม่สามารถพูดกับใครก็ได้ที่เราไม่รู้จักหรือสนิท ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ หรือ ผู้สูงอายุ ก็มักที่จะเลือกพาตัวเองออกมาอยู่ในจุดหรือสถานที่ที่อยู่แล้วสบายใจ ไม่ต้องไปวุ่นวายกับใคร 

5. เป็นปมที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกหรือความทรงจำ

ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ล้วนแล้วแต่มี trauma หรือบาดแผลในใจกันทั้งนั้น ยกตัวอย่าง จากเคสของผู้เขียนก็เคยเห็นเหตุการณ์ทะเลาะเบาะแว้งภายในครอบครัวที่ทุกวันนี้ถึงแม้จะผ่านมาหลายสิบปีแล้ว แต่ตัวผู้เขียนก็ยังจดจำภาพเหล่านั้น ซึ่งเปรียบเสมือนแผลหรือความทุกข์ในใจทุกครั้งที่เราเผลอไปนึกถึง หรือ ได้ยินเสียงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคล้ายๆกัน จนเป็นอีก moment ถึงที่ผู้เขียนต้องใช้เวลา heal ใจตัวเองหลายปี กว่าจะสามารถก้าวข้ามผ่านสิ่งเหล่านี้ไปได้

3 หลักการสังเกตว่าคนใกล้ตัวคุณมีปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่

จริงๆหลักการการสังเกตคนใกล้ตัวก็ไม่ต่างอะไรจากการสังเกตตัวเอง ผู้อ่านสามารถนำแนวทางที่ได้จากการสังเกตสุขภาพใจของตัวเองจากบทความ “5 วิธีสังเกตุสุขภาพใจตนเองเพื่อคนใกล้ตัว (คลิกอ่านต่อ)” ไปปรับใช้เพื่อสังเกตกับคนรอบข้างได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ดีอาจมีข้อควรระวังจากการสังเกตคนใกล้ตัวอยู่บ้าง โดยมีข้อสังเกตดังต่อไปนี้

1. ห้ามตัดสินหรือตีความว่าสิ่งที่เราเห็นตรงหน้าคือสิ่งที่คนๆนั้นเป็น

มนุษย์เรามักยึดเอาค่านิยม ความเชื่อ และประสบการณ์เป็นที่ตั้ง โดยปราศจากการคิดหรือไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน ซึ่งหากเราไม่ระวังในสิ่งเหล่านี้ก็อาจจะกระทบกับความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นได้

2. ห้ามเอาความคิดของเราไปยัดเยียดกับคนรอบตัวที่กำลังมีปัญหาหรือได้รับผลกระทบจากสุขภาพใจ

เพราะคนที่กำลังมีความทุกข์หรือความกังวล มักจะค่อนข้างปิดรับกับความคิดที่มาจากคนภายนอก ถึงแม้จะเป็นคนในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงก็ตาม ซึ่งตรงนี้เป็นธรรมชาตินะครับ เป็นกลไกการป้องกันกายและใจของมนุษย์เรา ไม่ใช่เรืองผิดแปลกอะไร ดังนั้นห้ามยัดเยียดความคิดของเราอย่างเด็ดขาด สิ่งที่เราควรทำ คือ รับฟังอย่างไม่ติดสินและให้กำลังใจอยู่ข้างๆคนรอบตัวคนนั้นก็พอ

3. ห้ามพาคนรอบตัวไปหาหมอหรือรักษาก่อนจะได้รับอนุญาตจากเจ้าตัว

สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก หลายๆที่ผมเคยเห็นมักจะทำพลาด โดยคิดแค่ว่าเราเป็นห่วง เราอยากช่วยทำให้คนๆนั้นดีขึ้น แต่หารู้ไม่ว่าการกระทำของเราอาจทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแย่ลงไปกว่าเดิมก็เป็นได้ ดังนั้นอย่าทำอะไรโดยพลการ ถ้าเราอยากท่ีจะช่วย ผู้เขียนแนะนำว่าให้ไปลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่าง นักจิตวิทยา หรือ จิตแพทย์ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการช่วยเหลือและนำองค์ความรู้ที่ได้มาดูแลคนรอบข้างต่อไป 

โดยสรุป ความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างตัวเราและคนใกล้ตัวเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราไม่ควรที่จะไปตัดสินจากสัญชาตญาณเพียงอย่างเดียว การรักษาไว้ซึ่งระยะห่างที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งควรกระทำเพื่อรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดี หากว่าเราสามารถทำในสิ่งเหล่านี้ได้ คนใกล้ตัวก็จะเข้ามาหาเราเอง โดยที่เราอาจจะไม่ต้องพยายามเลยด้วยซ้ำ


5 วิธีสังเกตสุขภาพใจตนเองเพื่อคนใกล้ตัว (คลิกอ่านต่อ)

หากใครก็ตามที่ชอบบทความนี้ของใจ-ฟู ฝากกด Like หรือ กดติดตามเพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารและบทความดีๆในตอนต่อไปกันนะครับ

ขอบคุณครับ

Yodspat T. (Co-founder & Head of Mental Wellness Solutions)
Jaifull's Head of Mental Wellness Solutions