รู้จักความฉลาดทางอารมณ์ 4 ส่วน Emotional Intelligence’ Quadrants | Emotional Intelligence (EQ/EI) EP.2

จิตวิทยาสู่ความสำเร็จอย่างสุขสมดุล: พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence - EQ/EI) หนึ่งในทักษะบริหารสุดยอดทีมแห่งความสุข ที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ

จิตวิทยาสู่ความสำเร็จอย่างสุขสมดุล: ความฉลาดทางอารมณ์ ถือเป็นหนึ่งในทักษะบริหารสุดยอดทีมแห่งความสุข ที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ การพัฒนาผู้นำในองค์กรที่ความเข้าถึงใจตนเอง-ผู้อื่น และพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้คนอย่างสุขสมดุลนั้น ฟังดูพื้น ๆ แต่งานวิจัยบอกว่ามีน้อยคนที่มี EQ ระดับสูง

Emotional Intelligence (EI) หรือ ความฉลาดทางอารมณ์ คือความสามารถของมนุษย์ในการรับรู้ เข้าใจ ใช้ประโยชน์ และจัดการอารมณ์ของตนในทางบวก ผู้นำที่มี EI / EQ สูงจะมีความเครียดน้อยลง สื่อสารได้ดีขึ้น มีความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น และเอาชนะความท้าทายได้ง่ายขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขารู้แน่ชัดว่าสภาพจิตใจของตนเองมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยาทางอารมณ์ของคนรอบข้างอย่างไร สำหรับในบทความนี้จะกล่าวถึงหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐานของการมีความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งก็คือ การตระหนักรู้อารมณ์ หรือ มี emotional awareness

Daniel Goleman นักจิตวิทยาที่เรียกได้ว่าเป็นบิดาแห่งความฉลาดทางอารมณ์ ได้พัฒนาทฤษฎี และ Daniel Goleman’s model ตั้งแต่ปีค.ศ. 1998 จนกระทั่งปีค.ศ. 2002 ได้จำแนก Emotional Intelligence (EI) หรือ ความฉลาดทางอารมณ์ เป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่
Daniel Goleman’s Emotional Intelligence Quadrant | องค์ประกอบ 4 ด้านของความฉลาดทางอารมณ์

โดยหลักแล้ว​ “ความฉลาดทางอารมณ์” มี 2 เรื่อง คือ Emotional Awareness and Management ความตระหนักรู้และการจัดการอารมณ์ แต่ต้องมีทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านตนเอง และผู้อื่น

สำหรับในบทความนี้เราจะพูดถึง Emotional Awareness ในกรอบสีเขียวก่อน ซึ่งประกอบด้วย 2 ด้าน คือ การรับรู้ภายในตนเอง และผู้อื่น (สังคม) ซึ่งหากอธิบายตามทฤษฎีของ Piaget 1937 แล้ว เขาได้แบ่งระดับความตระหนักรู้อารมณ์เป็น 5 ระดับ ดังภาพ

ระดับที่ 1: ความรู้สึกทางร่างกาย/การทำงานของอวัยวะภายใน (Somatic sensations / visceromotor activity)

ประสบการณ์ทางอารมณ์ในระดับนี้ประกอบด้วยความรู้สึกทางร่างกาย บุคคลอธิบายถึงความรู้สึกทางร่างกายหรือไม่สามารถบรรยายประสบการณ์ของตนได้

ระดับที่ 2: แนวโน้มการกระทำ/กิจกรรมทางกาย (Action tendencies/somatomotor activity)

ประสบการณ์ทางอารมณ์ในระดับนี้ประกอบด้วยการกระทำหรือแนวโน้มการกระทำ (การเข้าใกล้หรือการหลีกเลี่ยง พฤติกรรมทำร้ายตัวเอง ฯลฯ) และมีคำอธิบายในทำนองเดียวกัน แนวโน้มการกระทำเหล่านี้มีความสัมพันธ์กัน (รู้สึกดีหรือไม่ดี) ซึ่งไม่มีความแตกต่าง

ระดับที่ 3: ความรู้สึกส่วนบุคคล (Individual feelings)

ในระดับนี้บุคคลจะมีประสบการณ์ด้านอารมณ์เป็นสภาวะความรู้สึกทางอารมณ์ที่แยกจากกันและเฉพาะเจาะจง คำอธิบายอารมณ์เป็นแบบมิติเดียวและมักเป็นแบบเหมารวม (“ฉันรู้สึกโกรธ”)

ระดับที่ 4: การผสมผสานของความรู้สึก (Blends of feeling)

ระดับนี้มีลักษณะเป็นความสามารถในการมีความรู้สึกที่ตรงกันข้ามหรือแตกต่างอย่างชัดเจน เช่น รู้สึกเศร้าแต่ยังมีความหวัง

ระดับที่ 5: การผสมผสานของความรู้สึกที่ผสมผสาน (Blends of blends of feeling)

ในระดับนี้บุคคลมีความสามารถที่จะชื่นชมความซับซ้อนในประสบการณ์ของตนเองและผู้อื่นไปพร้อมๆ กัน บุคคลในระดับนี้ยังสามารถชื่นชมความรู้สึกของอีกฝ่ายที่มีหลายมิติและแตกต่างกันนิดหน่อย โดยการจินตนาการว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ของอีกฝ่าย โดยไม่ลำเอียงจากสภาวะทางอารมณ์ของตนเอง การเปรียบเทียบความรู้สึกที่บุคคลหนึ่งอาจรู้สึกในสถานการณ์หนึ่งกับอีกสถานการณ์หนึ่งเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการทำงานระดับ 5

ซึ่งสาเหตุที่เราพึงจะต้องเข้าใจเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EI/EQ) เพื่อนำไปสู่พัฒนาตนเองและพัฒนาผู้อื่นก็คือ พื้นฐานของการที่จะเป็นผู้นำที่ดีที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์สูง คือ การที่เราจะต้องพัฒนาที่ความตระหนักรู้อารมณ์และความคิดตนเองให้ได้เสียก่อน โดยเริ่มจากพื้นฐานแรกรับรู้ความรู้สึกที่ร่างกายและรู้การกระทำของตนเอง หรือหลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า “การฝึกสติ” นี่ คือการฝึกฝนแบบเดียวกัน ซึ่งมีเทคนิคให้เลือกฝึกได้หลายรูปแบบ และเมื่อเรามีพื้นฐานนี้แล้วการนำไปสู่การรับรู้อารมณ์ตนเอง เช่น รู้ว่าตอนนี้ฉันโกรธ รู้ว่าฉันอิจฉา และรู้ว่าฉันชอบ/ไม่ชอบ/รัก/เกลียด เป็นต้น รู้แบบไม่ตัดสินว่าถูกผิดไปเรื่อย ๆ เราจะรับรู้หรือตระหนักรู้ได้ฉับไวมากขึ้น และเมื่อรู้ไวขึ้น เราก็จะฝึกจัดการอารมณ์และการกระทำได้มากขึ้นตามลำดับ สำหรับการรับรู้อารมณ์ผู้อื่น หรือสังคม

Emotional Awareness การตระหนักรู้หรือรับรู้อารมณ์ 2 ด้าน (ตนเองและผู้อื่น/สังคม)

1. Self-Awareness การรู้อารมณ์ตนเอง:

ตามที่จอห์น เมเยอร์ (นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยนิวแฮมป์เชียร์และเป็นหนึ่งในคนแรกๆ ที่ศึกษาความฉลาดทางอารมณ์) การตระหนักรู้ในตนเองคือการ “ตระหนักถึงอารมณ์และความคิดของเราเกี่ยวกับอารมณ์”  Goleman (2002) อธิบายไว้อีกว่าคือความสามารถในการอ่านและเข้าใจอารมณ์ของคุณ รวมถึงรับรู้ถึงผลกระทบที่มีต่อผู้อื่น พูดง่ายๆ ได้ว่าการตระหนักรู้ในตนเองเป็นความเข้าใจพื้นฐานว่าเรารู้สึกอย่างไรและเหตุใดเราจึงรู้สึกเช่นนั้น  ยิ่งเราตระหนักรู้ถึงความรู้สึกของเรามากเท่าไรก็ยิ่งจัดการและกำหนดวิธีที่เราจะตอบสนองต่อผู้อื่นได้ง่ายขึ้นเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้เรามีความสามารถในการควบคุมตนเองมากขึ้น สามารถที่จะเข้าใจสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนในขณะที่ก็สุขใจในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และยังช่วยให้มีสุขภาพกาย-ใจที่ดีอีกด้วย แต่การที่จะพัฒนาทักษะนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย โดยตามทฤษฎีแล้วการรับรู้อารมณ์มีลำดับขั้นดังนี้:

  1. รับรู้ถึงอารมณ์ Sense the emotion (feeling)
  2. รับทราบความรู้สึก Acknowledge the feeling
  3. ระบุข้อเท็จจริงเพิ่มเติม Identify more facts
  4. ยอมรับความรู้สึก Accept the feeling
  5. ใคร่ครวญว่าทำไมอารมณ์เราเป็นเช่นนั้น Reflect on why the emotion is showing up in that moment สังเกตว่ามีความรู้สึกอื่นใดเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น  ถามตัวเองว่าจุดประสงค์ของมันคืออะไร มันคือการสื่อสาร สาธิต หรือพยายามจะสอนคุณอะไร
  6. ลงมือปฏิบัติ Act  – ดึงความคิดและความรู้สึกออกมาและดำเนินการอย่างเหมาะสม หากจำเป็น 
  7. ไตร่ตรองถึงประโยชน์ของคำตอบและบทเรียนที่คุณต้องการนำไปใช้ Reflect on the usefulness of the response and what lesson you would like to take away

(ที่มา: The Emotionally Intelligent Team by Marcia Hughes and James Bradford Terrell, 2007, pg. 76-77 )

“การสร้างความตระหนักรู้อารมณ์ของตนเองจะต้องมีการเอาใจใส่และไตร่ตรองถึงประสบการณ์ทางร่างกายที่สร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยความสนใจและการไตร่ตรองจะกรั่นกรองข้อมูลในการตอบสนองทางอารมณ์ออกมา และช่วยให้คน ๆ นั้นสามารถเข้าใจปฏิกิริยาตอบสนองเหล่านั้นว่า มีความหมายต่อเขาอย่างไร และสิ่งที่เขาต้องการในสถานการณ์นั้น” (Greenberg [2010] 2016)

ผู้ที่มีความตระหนักรู้อารมณ์มักจะ (Goleman, 1995, 2018):

  • รู้ว่าจะจำกัดสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด โดยวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ และเตรียมทรัพยากรที่จำเป็นก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น
  • มีความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายและค่านิยมของตนเป็นอย่างดี และมีความชัดเจนว่าพวกเขากำลังมุ่งหน้าไปที่ใดและเพราะเหตุใด พวกเขาเปลี่ยนงานก็ต่อเมื่อตระหนักว่าอาชีพของตนไม่สอดคล้องกับค่านิยมของตนอีกต่อไป
  • สามารถตรวจสอบความรู้สึกและสถานะของพวกเขาได้อย่างเปิดเผยเมื่อพวกเขาไม่สามารถตัดสินใจในที่ทำงานได้ พวกเขาสามารถประเมินตนเองอย่างตรงไปตรงมาและบอกผู้อื่นได้เมื่อความคิดเห็นของพวกเขาเปลี่ยนไป

2. Social Awareness การรับรู้อารมณ์ผู้อื่น หรือภาษาทางการจะเรียกว่า การตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม:

ความตระหนักรู้ทางสังคมคือความสามารถในการสังเกตอารมณ์ของผู้อื่นได้อย่างแม่นยำและ “อ่าน” สถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ว่าคนอื่นคิดและรู้สึกอย่างไรเพื่อให้สามารถมองมุมมองของพวกเขาโดยใช้ความสามารถของคุณในการเห็นอกเห็นใจ (Empathy)

“ความเห็นอกเห็นใจหมายถึงกระบวนการทางความคิดและอารมณ์ที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันในความสัมพันธ์ประเภทต่างๆ ที่เอื้อต่อการแบ่งปันประสบการณ์และความเข้าใจของผู้อื่น” “Empathy refers to the cognitive and emotional processes that bind people together in various kinds of relationships that permit sharing experiences as well as understanding of others”

Eslinger, 2007

การรับรู้อารมณ์ผู้อื่นช่วยให้เราเข้าใจผู้อื่น รับรู้ความรู้สึกของพวกเขา และดำเนินการในความสัมพันธ์ของเรากับพวกเขาได้อย่างประสบความสำเร็จ ตัวอย่างของการตระหนักรู้ทางสังคมและอารมณ์ในทางปฏิบัติ ได้แก่ (Goleman, 1995)

  • ลดโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งและแก้ไขเมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้
  • อ่านอารมณ์ การแสดงความเห็นอกเห็นใจ และสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี
  • ระบุและแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการและแรงจูงใจของผู้อื่น

Goleman อธิบายว่าความสามารถของเราจริงๆ แล้วมาจากเซลล์ประสาทขยายที่เชื่อมต่อกับสมองส่วน “อะมิกดาลา หรือ Amygdala” (สมองส่วนที่เกี่ยวกับ “อารมณ์” เช่น กลัว โกรธ เศร้า เครียด  ซึ่งระบบประสาทและสมองจะอ่านใบหน้า เสียง ฯลฯ ของผู้อื่นเพื่อดูอารมณ์และช่วยชี้แนะแนวทางที่เราควรพูดกับพวกเขา โดยสมองของเราจะบันทึกวิธีการที่อีกฝ่ายตอบสนอง ในขณะที่ระบบประสาทที่เชื่อมต่อกันและสมองส่วนอะมิกดาลาช่วยให้เรามีมนุษยสัมพันธ์ด้านอารมณ์กับบุคคลอื่น 

ซึ่งหากพูดง่าย ๆ ความตระหนักรู้อารมณ์ผู้อื่น/สังคมคือ การที่เราสามารถสังเกตเห็นได้ว่า คนในห้องมีอารมณ์หงุดหงิดกับงานที่ทำอยู่ และตอบสนองพวกเขาในลักษณะที่สามารถป้องกันอารมณ์ด้านลบที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้นได้
เช่น สมองเราได้รับข้อมูลว่า “เธอโกรธกับคำพูดสุดท้ายนั้น…ตอนนี้เธอดูเหนื่อย…บางทีฉันอาจจะทำให้เธอเบื่อ…นี่น่าจะดีกว่า! …ฉันคิดว่าเธอชอบได้ยินแบบนั้น…” และ ข้อมูลเหล่านี้คือ สิ่งที่เราใช้ในการตัดสินใจว่าเราควรพูดอะไรต่อไป (adapted from Goleman, D., Boyatzis, R. & McKee, A)

หากสนใจพัฒนาพนักงานและผู้นำในองค์กร ขอคำแนะนำเพิ่มเติมจาก Mentall Wellness Team ของใจฟู หรือเข้าร่วมกิจกรรม “Emotional Management” ล่าสุดได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่: ลิงค์รายละเอียด

ขอคำแนะนำ และสอบถามเพิ่มเติม Tel: 064-939-7416  | e-mail: info@nexephealth.com, www.jaifully.com

🟦 📌 add LINE OA @jaifull เพื่อขอรับคำปรึกษาส่วนตัว หรือเยี่ยมชมระบบให้คำปรึกษา


ติดตามใจฟู



บทความอื่น ๆ

References: