เข้าใจคนอื่นหรือเข้าใจตัวเองก่อน? Empathy VS Self-empathy #2

คำว่า “self-empathy”กลายเป็นคำใหม่ที่ถูกนำเสนอขึ้นมาเพื่อบอกเราว่า “นอกจากจะเห็นอกเห็นใจคนอื่นแล้ว ต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจตนเองบ้าง”

ตอนที่ 2: Self-empathy เข้าใจตัวเอง

โดย นักจิตวิทยาการปรึกษา คุณเจ เจษฎา กลิ่นพูล | Counseling Psychologist @ ใจฟูบริการดูแลสุขภาพใจพนักงานสำหรับองค์กร

“นอกจากจะเห็นอกเห็นใจคนอื่นแล้ว ต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจตนเองบ้าง”

ละทิ้งตัวตนแม้แต่ในความหมายของ “Self-empathy”

คำว่า “self-empathy”กลายเป็นคำใหม่ที่ถูกนำเสนอขึ้นมาเพื่อบอกเราว่า “นอกจากจะเห็นอกเห็นใจคนอื่นแล้ว ต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจตนเองบ้าง” ซึ่งจริงๆ เป็นคำพูดง่ายๆ ที่ฟังดูไม่ซับซ้อน เพื่อให้ลดละการคิดถึงแต่ความรู้สึกของคนอื่นโดยไม่สนอกสนใจความรู้สึกตัวเอง โดยเฉพาะเวลาที่เราทำเรื่องผิดพลาด ล้มเหลว ทำเรื่องน่าอาย หรือ เดือดดาลเป็นฟืนเป็นไฟ

แต่ไม่ว่าจะเป็น empathy หรือ self-empathy ก็อาจเกิดปัญหาแบบเดียวกันถ้าเราไม่สามารถละทิ้งตัวตนที่มีอยู่ก่อนของตัวเองได้

Self-empathy คือ “การถอดรองเท้าของตัวเองให้ตัวเองใส่”

ผมอยากจะนำเสนอคำเปรียบเปรยของ self-empathy แบบนี้แม้ว่าอาจจะดูงงๆ หน่อย แต่นั่นก็อาจจะนึกภาพได้ง่ายขึ้นหากผมบอกว่าความหมายของ self-empathy คือการสังเกตตัวเองเพื่อเห็นอกเห็นใจตัวเองในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งคล้ายกับการที่คุณถอยตัวเองออกมาในฐานะบุคคลที่ 3 เพื่อมองสถานการณ์ตรงหน้าที่กำลังเกิดขึ้นอย่างเป็นกลางที่สุด

นักจิตบำบัดคนหนึ่งชื่อ Phil Stutz เคยแนะนำให้เราใช้เทคนิค “การยอมรับแบบสุดใจ” (radical acceptance) เวลาที่เรากำลังเจอปัญหา โดยมีกฎเกณฑ์ง่ายๆ อยู่ 2 ข้อ คือ

1. อย่าตัดสินอะไร

2. มีศรัทธาว่าจะมองเห็นความหมายด้านบวกของสิ่งนั้น

ที่ Stutz ต้องแนะนำแบบนั้นเพราะคนเรามักจะมีอคติส่วนตัว (bias) เกิดขึ้นเสมอไม่ว่าจะเจอกับเรื่องอะไรก็ตาม และไม่ว่าอคตินั้นจะเป็นอะไร (ด้านดีหรือแย่) มันก็เป็นสิ่งที่ทำให้เราด่วนตัดสินในเรื่องต่างๆ อย่างรวดเร็วเกินไปจนมองไม่เห็นความหมายหรือความเป็นไปได้ที่ซ่อนอยู่ ขณะเดียวกัน เมื่อเราด่วนตัดสินสิ่งใดก็ตามแล้ว เราก็มีโอกาสจะละเลยความหมายบางอย่างของสิ่งนั้น ซึ่งสิ่งนี้ก็เกิดขึ้นได้แม้แต่กับการมองเห็น “ความเป็นมนุษย์” ภายในตัวเราเอง


อ่านบทความทั้งหมด >>> เข้าใจคนอื่นหรือเข้าใจตัวเองก่อน? Empathy VS Self-empathy


อ่านบทความทั้งหมด >>> กลยุทธ์การสร้างสังคมการทำงานที่ดีต่อใจ | Strategies for Psychological Healthy Workplaces


อ่านบทความทั้งหมดของ >>> “องค์กรจะป้องกันไม่ให้พนักงานหมดไฟได้อย่างไร?: แค่จัดการความเครียดได้พนักงานก็ไม่หมดไฟในการทำงาน” (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)