ทักษะบริหารสุดยอดทีมแห่งความสุข – บทสรุป

การสร้างสุดยอดทีมที่มีประสิทธิภาพ มีผลงานที่ดี และยังมีความสุขในที่ทำงานด้วย เป็นสิ่งที่ผู้บริหาร และทีมทรัพยากรบุคคลล้วนอยากให้เกิดขึ้นจริง แต่การที่จะทำให้เป็นไปได้นั้น ต้องเริ่มจากทักษะผู้นำที่สร้างให้เกิดขึ้นก่อน นั่นคือ ทักษะบริหารสุดยอดทีมแห่งความสุขนั่นเอง

หลาย ๆ คนคงได้ยินคำว่า Happy Workplace กันบ่อย ๆ แต่เราเข้าใจจริง ๆ หรือเปล่าว่า ความสุขในที่ทำงาน ของคนทำงานที่แท้จริง คืออะไร?

การอบรมโปรแกรมทักษะบริหารสุดยอดทีมแห่งความสุข โดยใจฟู และ อจ. อโนพร เครือแตง

Happy Workplace ความสุขในที่ทำงาน

ปัจจุบันมีนักวิชาการ และหน่วยงานที่ออกมาส่งเสริมการสร้างความสุขในที่ทำงานอย่างมากมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและองค์กรควรมีหลักคิดแนวทางนี้ในการบริหารจัดการองค์กรเพื่อยกระดับสุขภาพจิตของคนในองค์กรให้อยู่ในระดับดี หรือ จัดการกับความเครียดความกังวลใจได้ อย่างไรก็ดี องค์ประกอบที่หลาย ๆ คนกล่าวถึงมักมองข้าม สิ่งที่สำคัญที่สุดของปัญหาสุขภาพจิตที่องค์กรทั่วโลกประสบพบเจอ ก็คือ “ปัญหาคน” ในองค์กร

การที่องค์กรมีสวัสดิการที่ดี สภาพแวดล้อมที่ดี มีค่าตอบแทนที่น่าพึงพอใจ มีความก้าวหน้า มีกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพและเพิ่มความสัมพันธ์ของคนในองค์กร เป็นปัจจัยภายนอกที่องค์กรสามารถจัดการได้ไม่ยากนัก แต่เรื่องในจิตใจลึก ๆ ที่เกิดจากคนทำงานด้วยกัน เป็นเรื่องที่ต้องพัฒนาทักษะการบริหาร และการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางใจในทีม (Psychological Safety) การเพิ่มแรงเสริมให้ทีมงาน การพัฒนาความสัมพันธ์ของทีมงาน การสร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวก การสร้างความภักดีหรือ ความรักในองค์กร และอื่น ๆ ซึ่งเป็น Soft Skills ที่มีความสำคัญอย่างมากในการทำให้เกิด Happy Workplace ที่แท้จริงและยั่งยืน

เข้าใจตัวเองและผู้อื่นอย่างถ่องแท้ (Empathy)

จุดเริ่มของการสร้าง “ทักษะบริหารสุดยอดทีมแห่งความสุข” ตามหลักการของ Emotional Intelligence (EI) หรือความฉลาดทางอารมณ์ก็คือ การเริ่มต้นฝึกฝนให้ “รู้อารมณ์ตนเอง และรู้อารมณ์ผู้อื่น” (Self-Awareness and Social Awareness) ซึ่งสอดคล้องกับการบทเรียนแบบ Active Learning ที่วิทยากรของใจฟู ได้ฝึกฝนให้กับผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งไม่เพียงเป็นการเข้าใจในระดับบุคคล แต่ยังรวมถึง การเรียนรู้ความแตกต่างหลากหลายในเรื่องของวัย (Generations) อีกด้วย

การสื่อสารเชิงบวก (สื่อสารความต้องการของตนเอง และจัดการปัญหา/ข้อขัดแย้งกับทีมงาน)

โดยสรุป เมื่อเราเข้าใจตนเองและผู้อื่นอย่างถ่องแท้แล้ว เราจึงจะสามารถถ่ายทอดความรู้สึก ความต้องการของจนเองได้อย่างเหมาะสม และชัดเจนตรงจุด ไม่เช่นนั้น การสื่อสารอาจคลุมเครือ ไม่ชัดเจน จนสุดท้ายปัญหาที่เราต้องการสะสางแก้ไขนั้น อาจไม่ได้รับการแก้ไข เนื่องจากผู้รับสารเองไม่ได้เข้าใจ และเกิดความสับสนได้ หรืออาจเรียกได้ว่า “เกาไม่ถูกจุด”

Reviews สิ่งที่ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ (บางส่วน)

“เมื่อมองย้อนดูจากภูเขาน้ำแข็ง … สิ่งที่สื่อสารออกไปในเรื่องความต้องการและความรู้สึกของเรา มันอาจไม่ค่อยตรงกันเท่าไหร่”

“มีแนวคิดใหม่ ๆ ให้ได้คิดวิเคราะห์ตัวบุคคลจากการใช้ภูเขาน้ำแข็ง และเข้าใจเรื่องความแตกต่างของคนแต่ละ Generation มาขึ้น”

ปัญหาที่เราประสบก็คือ เรื่อง Generation Gap ค่ะ วันนี้ได้รับคำอธิบายชัดเจนขึ้นมาก … เราจะพยายามที่จะเข้าใจตัวเราเองและน้อง ๆ ในทีมด้วย”

“วันนี้ได้ Framework ในการคิดวิเคราะห์ ซึ่งดีมากครับ ทำให้มีวิธีคิดที่มีที่มาที่ไป และนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาการบริหารทีมให้ดีขึ้นได้”

“ชอบที่ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ได้แชร์ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และได้คิดตามแบบฝึกที่ครูเมย์ให้ทำ ทำให้เราเข้าใจมากขึ้น”


หากสนใจพัฒนาพนักงานและผู้นำในองค์กร ขอคำแนะนำเพิ่มเติมจาก Mentall Wellness Team ของใจฟู หรือเข้าร่วมกิจกรรม “Emotional Management” ล่าสุดได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่: ลิงค์รายละเอียด

ขอคำแนะนำ และสอบถามเพิ่มเติม Tel: 064-939-7416  | e-mail: info@nexephealth.com, www.jaifully.com

🟦 📌 add LINE OA @jaifull เพื่อขอรับคำปรึกษาส่วนตัว หรือเยี่ยมชมระบบให้คำปรึกษา


ติดตามใจฟู



บทความอื่น ๆ

References: