กลยุทธ์การสร้างสังคมการทำงานที่ดีต่อใจ #2 | Strategies for Psychological Healthy Workplaces #2

คงเป็นเทรนด์ในยุคสมัยนี้ที่เริ่มพูดกันว่า “ผลลัพธ์ของงานที่ดี เริ่มที่สุขภาพของคนในองค์กร” โดยเฉพาะในช่วงหลังมานี้ “เทรนด์ด้านสุขภาพจิต”

ตอนที่ 2: จุดสำคัญในการสร้างกลยุทธ์

โดย นักจิตวิทยาการปรึกษา คุณเจ เจษฎา กลิ่นพูล | Counseling Psychologist @ ใจฟูบริการดูแลสุขภาพใจพนักงานสำหรับองค์กร

การสร้างสังคมการทำงานที่ดีต่อใจ” (psychological healthy workplace) เป็นเรื่องของทุกคนในองค์กร

สร้างกลยุทธ์ที่ได้ประสิทธิผลอย่างไร | How to make the strategies effective?

การที่จะสร้างกลยุทธ์ซักอย่างให้ได้ผลหรือให้ได้สังคมการทำงานแบบนั้น ต้องเป็นเรื่องของ “การสร้างสภาพแวดล้อมที่คอยสนับสนุน” ให้กับพนักงานขึ้นมา โดยลักษณะของ “สภาพแวดล้อมที่คอยสนับสนุน” หรือ Supportive Environment ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ ก็อาจจะสังเกตเห็นได้ว่า

  1. Employee involvement: พนักงานจะหาโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์กรมากขึ้น)
  2. Growth and development opportunities: พนักงานต่างมองเห็นว่ามีโอกาสที่พวกเขาจะเติบโตในสายงานหรือสามารถพัฒนาตนเองได้
  3. Health and safety initiatives: องค์กรให้ความสำคัญกับสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานเสมอ
  4. Work-life balance and flexibility: พนักงานรู้สึกว่าสามารถสร้างสมดุลของชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้ รวงมทั้งรู้สึกว่ามีความยืดหยุ่นกับชีวิตได้มากขึ้น)
  5. Employee recognition: พนักงานรู้สึกว่าตัวเองถูกจดจำ เป็นที่พูดถึง หรือมีคุณค่าต่อองค์กรนี้)
  6. Effective two-way communication: คนในองค์กรมีการสื่อสารกันแบบสองทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ สามารถแสดงความคิดเห็นกันได้อย่างตรงไปตรงมา


ยังไงก็ตาม ถึงแม้เป้าหมายจะเป็นการสร้างกลยุทธ์ดูแลสุขภาพใจพนักงาน แต่การเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ไม่สามารถทำให้เหมือนกับเป็นโปรแกรมการทำงานได้

การเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ต้องเหมือนกับการสร้างและยึดถือค่านิยมเรื่องนี้ใหม่ให้กับคนทั้งองค์กร จนเกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่

พนักงานเขารู้ว่าองค์กรของตัวเองให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้จริงๆ รึเปล่า หรือแค่ทำๆ ไปอย่างนั้น ถ้าหากพนักงานรู้สึกว่าองค์กรไม่ได้ให้ความสำคัญอะไรในความเป็นอยู่ของพวกเขาเลย เขาก็อาจจะเลือกไม่มาทำงาน ขาดงาน หรือมาสายบ่อยๆ ทำให้บรรยากาศขององค์กรค่อยๆ บั่นทอนความ productive ของพนักงานลงไปเรื่อยๆ และทำเหมือนยื้อเวลาอยู่เท่านั้น


“มันมีการเพิ่มขึ้นอย่างมากในกระแสเหล่านี้ แต่ก็มีแนวทางที่หลากหลายมากเหมือนกัน รวมถึงบางองค์กรก็ยังห่างไกลจากเรื่องพวกนี้มาก และอาจต้องใช้เวลาเป็นปีๆ ในการเปลี่ยนแปลง

โดยทั่วไปแล้ว เราจะเห็นว่าองค์กรมักเริ่มจากการการโฟกัสในมุมแคบๆ อย่างเรื่องสุขภาพกาย ก่อนที่จะค่อยๆ ขยายเป็นการดูแลสุขภาพพนักงานแบบองค์รวม (wellness approach) ซึ่งในกรณีนี้เรียกว่าการโฟกัสกับเรื่องสุขภาวะ (well-being) ของคนในองค์กรแทนที่จะสนใจแค่เรื่องสุขภาพร่างกายอย่างเดียว

หมายความว่า เราสามารถมองพนักงานในฐานะคนคนหนึ่งที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของการทำงานได้ ดังนั้น เราก็จะมองเห็นได้ว่า คนคนหนึ่งมีความเสี่ยงเรื่องสุขภาพด้านใดบ้าง ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต สุดท้ายก็คือ การที่เราหาทางพยายามลดความเสี่ยงตรงนี้ลงไป พร้อมกับการพยายามลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด ซึ่งมันคือเรื่องของความคุ้มค่าในการลงทุนกับคนที่ร่วมงานด้วยกัน

หลายๆ องค์กรเข้าใจเรื่องนี้ และต้องการที่จะดูแลพนักงานของตัวเองรวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้ได้ ขณะเดียวกัน ตัวพนักงานเองก็รู้ถึงจุดนี้ว่า มันคือการตัดสินใจทางธุรกิจที่ดีที่สุด แต่หลายคนมากเหมือนกันที่ไม่รู้เลยว่าจะต้องทำยังไง”

– David Ballard, นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญในด้านการสร้างองค์กรที่สุขภาพดี –

คราวนี้ ก็มีจุดที่น่าสนใจว่า ในบางองค์กรเป็นองค์กรขนาดใหญ่มากๆ จนนึกภาพไม่ออกเลยว่าจะเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมนั้นยังไง David Ballard ก็ได้ตอบคำถามนี้เหมือนกันว่า

“จริงๆ แล้ว ในองค์กรขนาดใหญ่ สามารถเริ่มได้จากจุดเล็กๆ เพราะมันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของพนักงานมากกว่าการทำให้ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่าง จุดเล็กๆ ที่ทำได้อย่างเช่น การให้ฟีดแบกพนักงานเชิงบวก หรือ การมอบสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ เป็นรางวัลสำหรับการทำงานเป็นอย่างดีมาตลอด”

เห็นมั้ยครับว่า การสร้างกลยุทธ์ส่งเสริมสุขภาพใจให้กับพนักงาน ก็อาจจะไม่จำเป็นเลยที่จะต้องเป็นเรื่องที่ใหญ่โต และสามารถทำได้จากจุดเล็กๆ ที่ค่อยๆ สั่งสมไปเรื่อยๆ


อ่านบทความทั้งหมด >>> กลยุทธ์การสร้างสังคมการทำงานที่ดีต่อใจ | Strategies for Psychological Healthy Workplaces


อ่านบทความทั้งหมดของ >>> “องค์กรจะป้องกันไม่ให้พนักงานหมดไฟได้อย่างไร?: แค่จัดการความเครียดได้พนักงานก็ไม่หมดไฟในการทำงาน” (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)