เข้าใจคนอื่นหรือเข้าใจตัวเองก่อน? Empathy VS Self-empathy #1
ตอนที่ 1: Empathy เข้าใจคนอื่น
โดย นักจิตวิทยาการปรึกษา คุณเจ เจษฎา กลิ่นพูล | Counseling Psychologist @ ใจฟูบริการดูแลสุขภาพใจพนักงานสำหรับองค์กร
“การเข้าอกเข้าใจคนอื่น” (empathy) ฟังดูเหมือนเป็นการเรียกร้องให้หันมาสนอกสนใจความรู้สึกของคนรอบข้าง โดยเฉพาะในเวลาที่กดดัน ตึงเครียด หรืออึดอัดใจ และบางครั้งนั่นก็เป็นคำร้องขอที่มากพอจะทำให้คนที่เข้าใจความหมายของมันผิด (หรือเรียกได้ว่าไม่สามารถเข้าสู่ประสบการณ์เหล่านั้นง่ายๆ) กลับต้องอึดอัดใจกับคำศัพท์นี้
Empathy คือ “การเอาตัวเองเข้าไปสวมรองเท้าของอีกฝ่าย”
คำอธิบายนี้มักถูกใช้เพื่อเปรียบเปรยความหมายของ empathy ซึ่งหมายถึงการจินตนาการภาพของตัวคุณเองที่ต้องยืนอยู่ในจุดเดียวกันกับคนอื่น นั่นก็เพื่อให้คุณได้สัมผัสถึงประสบการณ์ที่คาดเดาได้ว่า “หากฉันเจอสถานการณ์แบบเดียวกันฉันจะรู้สึกอย่างไร?”
ไม่ใช่แค่นั้น ความหมายของ empathy ยังมีความลึกซึ้งที่มากกว่าแค่ประสบการณ์ทางอารมณ์ความรู้สึก และนั่นก็มักเป็นสิ่งที่หลายๆ คนเข้าใจผิด จนทำให้ยากที่จะจินตนาการออกว่าหากตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันจริงจะรู้สึกแบบเดียวกันจริงๆ รึเปล่า
Empathy หมายถึง การละทิ้งตัวตน
ต่อให้คุณลองสวมรองเท้าของคนอื่นแต่คุณยังเป็นตัวคุณเองอยู่ มันก็เป็นเรื่องยากที่คุณจะรู้สึกแบบเดียวกันกับเจ้าของรองเท้าคู่นั้น ความหมายของ empathy ที่ผิดเพี้ยนไปจึงกำเนิดขึ้นจากการที่เราไม่สามารถละทิ้งตัวตนของเราได้ หากจะเข้าอกเข้าใจคนอื่นได้จริงๆ ก็ต้องเริ่มจากจุดนั้น
อ่านบทความทั้งหมด >>> เข้าใจคนอื่นหรือเข้าใจตัวเองก่อน? Empathy VS Self-empathy
อ่านบทความทั้งหมด >>> กลยุทธ์การสร้างสังคมการทำงานที่ดีต่อใจ | Strategies for Psychological Healthy Workplaces
อ่านบทความทั้งหมดของ >>> “องค์กรจะป้องกันไม่ให้พนักงานหมดไฟได้อย่างไร?: แค่จัดการความเครียดได้พนักงานก็ไม่หมดไฟในการทำงาน” (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)