[ใจ-ฟู] เต็มพลังใจให้เต็ม

บริการดูแลสุขภาพใจ สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ (Enterprise)
Mental Wellness for Enterprise
ขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
บริการดูแลสุขภาพใจ สำหรับองค์กรขนาดใหญ่
Mental Wellness for Enterprise
ขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ

ขอคำแนะนำบริการดูแลสุขภาพใจที่เหมาะกับองค์กรของคุณ

การเลือกโปรแกรมสนับสนุนพนักงาน และบริการที่เหมาะกับองค์กร

#STEP1: เลือกการจัดโปรแกรม 2 วิธีการ ที่ต่างกัน

สำหรับองค์กรที่ต้องการโปรแกรมสนับสนุนพนักงานแบบพื้นฐาน แต่ต้องการจัดให้มีสวัสดิการดูแล Well-being อย่างครบถ้วนให้พนักงาน อาจมองการจัดสวัสดิการเป็น 2 วิธีการใหญ่ ๆ คือ แบบ proactive (เชิงรุก) และแบบ reactive (เชิงรับ) ซึ่งมีความแตกต่างบางประการ กล่าวคือ

Proactive

การเข้าไป intervene หรือ แทรกแซงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ค้นหาปัญหา และสร้างวิธีการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

Proactive

โปรแกรมสนับสนุนพนักงานแบบ proactive หรือ เชิงรุก จะเป็นการเข้าไป intervene หรือ แทรกแซงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการพัฒนาจากสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอาจหมายถึงการพยายามค้นหาปัญหา บุคคลที่ประสบปัญหา หรือบุคคลที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง และสร้างวิธีการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาหนึ่งพร้อมกับมีตัวชี้วัดความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพัมนาในเรื่องที่ต้องการ

Reactive

การมีเครื่องมือหรือระบบ ให้พร้อม เมื่อถึงเวลาที่พนักงานต้องการความช่วยเหลือ หรือสนับสนุน เมื่อเกิดปัญหาขึ้น หรือตามความสมัครใจ

Reactive

ในขณะที่ โปรแกรมสนับสนุนพนักงานแบบ reactive หรือ เชิงรับ เน้นไปที่การมีเครื่องมือ หรือระบบ พร้อมสำหรับพนักงาน เมื่อถึงเวลาพนักงานต้องการความช่วยเหลือ หรือสนับสนุน เมื่อจำเป็น (เมื่อเกิดปัญหาขึ้น) หรือตามความสมัครใจ โดยอาจไม่มีการเข้าไปสร้างความตระหนักรู้ (awareness) ไม่มีการสร้าง Mindset ในการป้องกันปัญหา ไม่มีการพัฒนา Growth Mindset และเพิ่มทักษะในการพัฒนาศักยภาพ

#STEP2: เลือกจัดโปรแกรมสนับสนุน ตามเป้าหมายองค์กร

หากคุณรู้ว่าองค์กรคุณต้องการผลของโปรแกรมสนับสนุนพนักงานอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพใจพนักงานหรือเพิ่มทักษะการดูแลตนเองแบบทั่วไป หรือต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดการขาดลามาสาย เพิ่ม motivation ในการทำงาน หรือแม้แต่การพัฒนาศักยภาพพนักงาน สามารถอ่านรายละเอียดเบื้องต้น หรือติดต่อทีม Mental Wellness Solutions เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมในการวางเป้าหมายขององค์กรต่อไป

WELL-BEING STARTER (ดูแลใจ)

หากองค์กรของคุณมองหาแบบเริ่มต้น อาจเริ่มจาก การจัดให้มีบริการดูแลจิตใจ และเพิ่มทักษะการดูแลสุขภาพใจ (Mental Health Care) ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสุขภาพกายด้วย (Physical Health) ไม่มากก็น้อย เช่น ปัญหาออฟฟิศซินโดรม โรคที่เกิดจากความเครียด อย่างความดัน มะเร็ง กรดไหลย้อน และโรคกระเพาะ เป็นต้น โดยส่งเสริมให้มีทักษะการรับมือกับความเครียด (Training & Workshop) พร้อมมีบริการให้คำปรึกษา หรือพื้นที่ระบายความทุกข์ความกังวลใจ (mental support)

การวัดผล: ต่อครั้ง หรือ ตามระยะเวลาของสัญญา

PERFORMANCE INTERVENTION (พัฒนาผลการปฏิบัติงาน)

สำหรับองค์กรที่หวังผลในด้าน performance การทำงานของพนักงาน อาจตั้งเป้าหมายใน 2 ด้าน ซึ่งจะมุ่งเป้าไปที่โปรแกรมการสนับสนุนพนักงานด้านจิตใจในแง่ของความพึงพอใจกับชีวิตและการทำงาน รวมทั้ง การหวังผลในเรื่องของกำลังใจและความทุ่มเทในการทำงานแบบวัดผลได้ ทั้งนี้ ต้องอาศัยการวัดความเปลี่ยนแปลงเชิงตัวเลขและเชิงคุณค่า การจัดโปรแกรมในช่วงระยะเวลา 3-6 เดือน เป็นอย่างน้อย

ระยะเวลาการวัดผล: 3-6 เดือน

MINDSET SHIFTER (ปรับเปลี่ยนกรอบความคิด)

สำหรับองค์กรที่ต้องการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบที่ยกระดับศักยภาพพนักงานและองค์กร ด้วยการพัฒนาศักยภาพบุคคลากรและทัศนคติ (Unleash Potential and Building Growth Mindset) รวมถึง การสร้างความเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรเชิงคุณค่า ตลอดจนสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่สังคม (Corporate Value) ทั้งนี้ การวัดผลอาจต้องอาศัยจากผลของ performance และ observe ควบคู่ในการพิจารณาความสำเร็จของโปรแกรม โดยระยะเวลาของโปรแกรมที่แนะนำ 3-6 เดือน

ระยะเวลาการวัดผล: 3-6 เดือน

#STEP3: เลือกบริการที่เหมาะกับองค์กร

เมื่อคุณทราบเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว อาจลองอ่านรายละเอียดบริการต่าง ๆ ของใจฟู เพื่อประเมินว่ารูปแบบใดน่าจะเหมาะกับการแก้ปัญหาขององค์กร หรือการจัดสวัสดิการ mental wellness ที่เหมาะกับลักษณะของพนักงานองค์กรคุณ รวมทั้ง เหมาะกับงบประมาณของโปรแกรมด้วย

ให้คำปรึกษาองค์กร

การประเมินศักยภาพและ สุขภาพใจบุคคลากร โดยไม่มีการเปิดเผยข้อมูลรายบุคคลให้กับ องค์กร พร้อมให้คำแนะนำโปรแกรมสนับสนุน พนักงาน (Employee Assistance Program - EAP)

ขั้นตอนการให้คำปรึกษาในระดับองค์กร

  1. Identify issues: ค้นหาปัญหา
  2. Data collection: เก็บข้อมูลให้แก่องค์กร
  3. Report and analysis: รายงานและสรุปผลจากข้อมูล
  4. EAP recommendation: ให้คำแนะนำโปรแกรมสนับสนุนพนักงาน ด้านจิตใจ

การสนับสนุนดูแลด้านจิตใจรายบุคคล

พร้อมการเก็บข้อมูล ติดตามและวัดผลการ ให้บริการแก่องค์กร (ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลรายบุคคลให้กับองค์กร)

  1. ใจฟูคอยฟัง “พื้นที่ปลอดภัย ระบายความทุกข์ ไม่สบายใจ โดยมีทีม Empathetic Listeners” 
  2. ปรึกษานักจิตวิทยา ปรึกษาปัญหาสุขภาพใจแบบส่วนตัว และบำบัดปัญหาสุขภาพจิต กับทีมนักจิตวิทยาการปรึกษาที่มีประสบการณ์ และความชำนาญที่แตกต่างกัน

การสนับสนุนพัฒนาด้านจิตใจด้วย แนวทางจิตวิทยาชุมชน

กิจกรรมใจฟู พร้อมการเก็บข้อมูล ติดตาม และวัดผลการให้บริการแก่องค์กร ทั้งก่อนและหลังเข้ารับบริการ

  1. Jaifull Talk & Workshop: ใจฟูทอล์ค & เวิร์คชอป เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) การมีส่วนร่วม และการทำแบบฝึกหัดแบบกลุ่ม-แบบเดี่ยว
    • กิจกรรมเสริมสร้างทักษะการดูแลกาย-ใจตนเอง 
    • กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ
  2. Jaifull Community: เติมเต็ม และเยียวยาจิตใจด้วยกิจกรรม และ เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานกับองค์กร จากกิจกรรมเพื่อ community ที่สะท้อนถึงคุณค่าขององค์กร

บริการดูแลสุขภาพใจสำหรับองค์กร

ติดต่อเรา

กรุณาให้ข้อมูลเราเบื้องต้น เพื่อขอใบเสนอราคา หรือให้คำแนะนำเพิ่มเติม

Conversational Form _ Jaifull web inquiry

[ใจ-ฟู] เต็มพลังใจให้เต็ม