สุขภาพจิตของผู้หญิงในสถานที่ทำงาน | Women’s Mental Health at Work

ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้หญิงในสถานที่ทำงาน (women's mental health at work) สะท้อนความซับซ้อนในปัญหาที่หลายครั้งผู้บริหารที่วางนโยบายการดูแลสุขภาพจิตของพนักงานมักมองไม่รอบด้าน แท้ที่จริงแล้วควรมองข้ามความเป็น “พนักงาน หรือลูกจ้าง” ไปให้เห็น “มนุษย์” ที่มีชีวิตนอกเหนือจากสถานที่ทำงาน ชีวิตด้านอื่น ๆ ก็สามารถส่งผลต่อการทำงานเป็นอย่างมากเช่นกัน

ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้หญิงในสถานที่ทำงาน (women’s mental health at work) สะท้อนความซับซ้อนในปัญหาที่หลายครั้งผู้บริหารที่วางนโยบายการดูแลสุขภาพจิตของพนักงานมักมองไม่รอบด้าน แท้ที่จริงแล้วควรมองข้ามความเป็น “พนักงาน หรือลูกจ้าง” ไปให้เห็น “มนุษย์” ที่มีชีวิตนอกเหนือจากสถานที่ทำงาน ชีวิตด้านอื่น ๆ ก็สามารถส่งผลต่อการทำงานเป็นอย่างมากเช่นกัน

โดย ทีมใจฟู @ ใจฟูบริการดูแลสุขภาพใจพนักงานสำหรับองค์กร


ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้หญิงในสถานที่ทำงาน (women’s mental health at work)

ปัญหาสุขภาพจิตของผู้หญิงวัยทำงาน

เนื่องในวัน International Women’s Day ทางทีมใจฟูอยากหยิบยกประเด็นปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้หญิงในช่วงวัยทำงานมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อสะท้อนความซับซ้อนในปัญหาที่หลายครั้งผู้บริหารที่วางนโยบายการดูแลสุขภาพจิตของพนักงานมักมองเพียงเรื่องของความเครียด การรับมือกับความกดดัน ภาวะหมดไฟในที่ทำงาน และประสิทธิภาพของการทำงานของพนักงานเท่านั้น หากแต่เรามองข้ามความเป็น “พนักงาน หรือลูกจ้าง” ไปได้ เราก็จะเห็น “มนุษย์” คนหนึ่งที่มีชีวิตนอกเหนือจากสถานที่ทำงาน และสิ่งที่คน ๆ นั้นพบเจอในชีวิตด้านอื่น ๆ ก็สามารถส่งผลต่อการทำงานเป็นอย่างมากเช่นกัน

ซึ่งในระดับโลก พบว่า วัยทำงานเพศหญิงมีภาวะโรคซึมเศร้า อันดันที่ 1 จากการจัดอันดับการศึกษาภาระโรคจิตเวชที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุสำคัญของปีที่สูญเสียสุขภาวะจากความทุพพลภาพ โดยปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นกับวัยผู้ใหญ่และทำงานส่งผลกระทบต่อ ครอบครัว ชุมชน สังคม การพัฒนาเศรษฐกิจ โดยวัยทำงานยังพบเจอปัญหาความรุนแรงจากการทำงาน การคุกคามทางเพศ ความเครียด และภาวะหมดไฟ (Burn out)

ความท้าทายที่พบ และความซับซ้อนในปัญหาของผู้หญิงทั่วโลก

จากบทความ How Organizations Can Support Women’s Mental Health at Work by Kelly Greenwood (Mind Share Partners) ที่ตีพิมพ์ใน Harvard Business Review (online) กล่าวถึงความท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงว่ามีหลายเรื่องที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต และความท้าทายหลายประการเหล่านี้ส่วนใหญ่มองไม่เห็น เนื่องจากกลุ่มผู้หญิงเหล่านี้ อาจไม่มีการพูดคุยถึงปัญหาเหล่านี้เลย ไม่ว่าจะในสถานที่ทำงานหรือที่อื่นใด โดยตัวอย่างความความท้ายของผู้หญิง ได้แก่

  1. ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะประสบกับภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังวลทั่วไป และ PTSD มากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า
  2. มีแนวโน้มที่จะต่อสู้กับโรคการกินผิดปกติสูงกว่ามาก
  3. ปัญหาความไม่เท่าเทียมในโอกาสด้านรายได้
  4. ปัญหาความรับผิดชอบในการดูแล เช่น ต่อครอบครัว ต่อความสัมพันธ์ต่าง ๆ และความรับผิดชอบในที่ทำงาน
  5. ปัญหาความรุนแรงที่เกิดจากการเป็นเพศหญิง

ซึ่งสำหรับผู้หญิงแล้ว ภาวะมีบุตรยาก วัยหมดประจำเดือน และภาวะซึมเศร้าหลังคลอดก็ส่งผลกระทบต่อหลาย ๆ คน เช่นกันกับบทบาทการดูแลทั้งทางร่างกายและอารมณ์ เช่น ลูกสาว มารดา เพื่อนร่วมงาน และแม้กระทั่งการผู้นำ ก็ส่งผลให้มีภาระหนักมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการที่ผู้หญิงมักไม่ค่อยได้รับการส่งเสริมในที่ทำงาน การเป็นผู้หญิงผิวสี ชนกลุ่มน้อย หรือเป็นสมาชิกของชุมชน LGBTQ+ การต้องทนต่อการล่วงละเมิดทางเพศ การรับมือกับโรค Imposter Sydrome (โรคที่รู้สึกว่าตัวเองนั้นด้อยคุณภาพ) การลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร และการต้องมีบทบาทดูแลทำความสะอาดในสำนักงาน

Women @ Work 2023: a Global Outlook โดย Deloitte LLP

หากลองดูผลจากการศึกษาของ Women @ Work 2023: a Global Outlook โดย Deloitte LLP บริษัทที่ปรึกษาองค์กรชั้นนำระดับโลก ซึ่งทำแบบสอบถามกับกลุ่มผู้หญิง 5,000 คนใน 10 ประเทศ จะทำให้เราเห็นภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตของผู้หญิงที่เพิ่มขึ้นในแง่มุมที่สำคัญบางประการ เช่น

  • มากกว่า 56% มีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพจิตของตนเอง
  • มีเพียง 37% เท่านั้นที่ให้คะแนนความสามารถในการออกจากโหมดทำงานว่า “ดี” (ลดลงจาก 45% ในปี 2022)
  • 54% ของผู้หญิงบอกว่าสุขภาพกายดี (ลดลงจาก 65% ในปี 2022)
จากการที่ผู้หญิงในวัยทำงานตอบแบบสอบถามดังกล่าว ยังมีการค้บพบพบว่า ความรู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยเกี่ยวกับสุขภาพจิตในที่ทำงานของผู้หญิง ลดลงอย่างมากจาก 43% ในปี 2022 เป็น 25% ในปี 2023 ในขณะที่ผู้หญิงเกือบ 1 ใน 3 ลางานด้วยเหตุผลด้านสุขภาพจิต แต่มีเพียง 25% เท่านั้นที่รู้สึกสบายใจ เปิดเผยสาเหตุที่ไม่อยู่ ลดลงจาก 39% ในปี 2022

ซึ่งตรงกับ สาระสำคัญที่สรุปจากรายงานเรื่องสุขภาพจิตของผู้หญิงในสถานที่ทำงานในสหรัฐอเมริกา โดย Mind Share Partners ในปี 2023 พบว่า ผู้คนมีความตระหนักและความเข้าใจด้านสุขภาพจิตที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม พวกเขายังรู้สึกไม่ปลอดภัยในการพูดคุยเกี่ยวกับสุขภาพจิตในที่ทำงาน มีโอกาสน้อยลงที่จะพูดคุยปัญหาเหล่านี้ และรู้สึกว่านายจ้างให้การสนับสนุนพนักงงานในด้านสุขภาพจิตน้อยลง และการลดลงเหล่านี้ใกล้เคียงกับระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ความสะดวกใจของพนักงานในการพูดคุยเกี่ยวกับสุขภาพจิตของตนกับผู้บริหาร ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งจาก 37% ในปี 2021 เหลือเพียง 19% ในปี 2023

ปัญหาสุขภาพจิตของผู้หญิงวันทำงานในไทย

สำหรับสถานการณ์เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตผู้หญิงไทย จากผลสำรวจของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเทศไทยกว่า 1.5 ล้านคน ป่วยด้วย “โรคซึมเศร้า” และส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน โดยกลุ่มวัยทำงานผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้ชายถึง 1.7 เท่า แต่ที่น่ากังวลที่สุดก็คือผู้ป่วยเกินกว่าครึ่งต่างไม่ทราบว่าตนเองกำลังป่วย และอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจและการเสียชีวิตตามมา

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เผยผลสำรวจ ปี 2565 พบว่า ผู้หญิงถูกคุกคามทางเพศ 7 คนต่อวัน ในการเข้ารับบริการบำบัดรักษาทั้งสิ้น 30,000 คน ในขณะที่ จากข้อมูลศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561 – 2565 พบว่ามีคนที่ถูกใช้ความรุนแรงและเข้ามารับการรักษาถึง 80,272 ราย โดยร้อยละ 90 เป็นเพศหญิง แบ่งเป็น ความรุนแรงด้านร้างกาย ทางเพศ และทางจิตใจ ตามลำดับ ซึ่งเป็นความรุนแรงที่เกิดจากคนใกล้ตัว และครอบครัว

แนวทางโครงการการสนับสนุนพนักงาน ด้านจิตใจของพนักงานในกลุ่มผู้หญิง

จากข้อมูลของทางทีมบริการดูแลสุขภาพใจของใจฟู เราพบว่า เรื่องที่กลุ่มพนักงานผู้หญิงเข้ามาปรึกษามาก 3 เรื่อง ได้แก่

  • ปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
  • ปัญหาด้านความเครียดและขาดความสุขในที่ทำงาน
  • ปัญหาด้านคุณค่าในตัวเอง

ซึ่งถึงแม้จากข้อมูลการศึกษาข้างต้นจะพบว่ากลุ่มผู้หญิงเป็นกลุ่มเสี่ยงภาวะซึมเศร้า และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ มากที่สุด แต่ในด้านดีที่เราพบในระบบของเราก็คือ ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะสนใจในการดูแลสุขภาพใจของตนเองมากกว่า หรืออาจมีแนวโน้มยอมรับว่าตนเองมีปัญหาได้มากกว่า  เพียงแต่ไม่สบายใจที่จะเปิดเผยปัญหาด้านจิตใจของตนเองให้ที่ทำงานหรือคนรอบข้างรับทราบ ทำให้เมื่อเราย้อนกลับมาดูสถิติของการฆ่าตัวตายสำเร็จในประเทศไทยจะพบว่า 79.5% เป็นเพศชาย ซึ่งอาจคาดเดาได้ว่าผู้ชายมีปัญหาสุขภาพจิตที่ไม่ต้องการเปิดเผยและไม่ยอมรับปัญหามากกว่าผู้หญิง ทำให้อาจเกิดปัญหาสุขภาพจิตเรื้อรังจบนำไปสู่การหาทางออกน่าเศร้าในที่สุด

สิ่งที่สะท้อนบทสรุปได้เป็นอย่างดีคือ ราว ๆ 50% ของปัญหาของมนุษย์เรา เป็นปัญหาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องงานโดยตรง ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่ได้ถูกพูดถึงมากนัก และไม่ได้สามารถแก้ไขด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน แต่ “ส่งผลต่อการทำงาน” ดังนั้น ผู้บริหารอาจต้องพิจารณาโครงการสนับสนุนพนักงาน (EAP) ด้านจิตใจให้ตรงจุดมากขึ้น โดยการส่งเสริมทักษะและจัดให้มีบริการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตให้กับพนักงาน เพื่อเป็น “พื้นที่แก้ปัญหาส่วนตัว” ให้กับ “มนุษย์” ที่ทำงานในองค์กรมากอย่างเหมาะสม และเพื่อสร้างองค์กรที่มีทรัพยากรมนุษย์ที่แข็งแกร่งต่อไป

อ่านบทความทั้งหมด >>> ความสุขทางจิตวิญญาณ | หนึ่งในตัวช่วยด้านสุขภาพใจสำหรับพนักงานจนถึงผู้บริหาร

อ่านบทความทั้งหมด >>> เข้าใจคนอื่นหรือเข้าใจตัวเองก่อน? Empathy VS Self-empathy



ที่มา:

Women @ Work 2023: A Global Outlook, Deloitte LLP, 2023.
https://action.deloitte.com/insight/3339/burnout-for-women-decreases-but-mental-health-remains-a-concern
https://www2.deloitte.com/content/dam/insights/articles/glob175810_global-women-at-work/Women_at_Work_2023.pdf

How Organizations Can Support Women’s Mental Health at Work by Kelly Greenwood (Mind Share Partners)
https://hbr.org/2022/03/how-organizations-can-support-womens-mental-health-at-work, https://www.mindsharepartners.org/mentalhealthatworkreport-2023

#Jaifull #Jaifully #ใจฟู #ดูแลสุขภาพใจพนักงาน #บริการดูแลสุขภาพใจองค์กร #CorporateMentalWellness #MentalWellnessSolutions

#ใจฟูคอยฟัง #กิจกรรมดูแลสุขภาพใจ #MentalHealthTalk #เพลงเยียวยาจิตใจ #เพลงให้กำลังใจ #MentalHealthWorkshop #ปรึกษาสุขภาพใจ #นักจิตวิทยา

#NEXEPheath #NEXEP