ความสุขทางจิตวิญญาณ #2 | หนึ่งในตัวช่วยด้านสุขภาพใจสำหรับพนักงานจนถึงผู้บริหาร (Spiritual Well-being)
ตอนที่ 2: ความสุขทางจิตวิญญาณในมุมจิตวิทยา
โดย นักจิตวิทยาการปรึกษา คุณเจ เจษฎา กลิ่นพูล | Counseling Psychologist @ ใจฟูบริการดูแลสุขภาพใจพนักงานสำหรับองค์กร
ในหัวข้อก่อนหน้าผมก็ได้อธิบายไปอย่างคร่าวๆ แล้วว่าการมีความเชื่อความศรัทธา หรือการให้เหตุผลทางจิตวิญญาณนั้นอาจมีความสำคัญต่อการที่เราจะสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่ตึงเครียดหรือรู้สึกว่ากำลังเผชิญความยากลำบากที่ไม่สามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น
แต่ในมุมจิตวิทยา การรู้จักสร้างความสุขทางจิตวิญญาณ หรือ Spiritual well-being ให้มีอยู่อย่างสม่ำเสมอกลับเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากกว่านั้น
สำหรับคนที่มี spiritual well-being มากกว่าคนอื่น อาจมีแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ชัดเจน มีเป้าหมาย มีพลังในการสร้างสรรค์ผลงาน และสามารถที่จะเผชิญกับปัญหาหรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างมีสติ
นั่นก็เพราะการมีแหล่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจจะช่วยให้เรามีความแข็งแกร่งภายในจิตใจขึ้นมา รู้สึกมีความหวัง มองเห็นคุณค่าในตัวเองและคุณค่าของสิ่งต่างๆ รอบตัว และเชื่อมั่นในสิ่งดีงามจนนำไปสู่การที่เราใช้ชีวิตด้วยความรู้สึกและความคิดในทางบวกได้เรื่อยๆ
ยิ่งไปกว่านั้น spiritual well-being ยังอาจช่วยให้เรารู้สึกมีความสุขกับชีวิตของตัวเองได้มากยิ่งขึ้น รู้สึกได้ถึงการมีชีวิตที่สมดุลและควบคุมตัวเองได้อย่างมีเหตุผล มีจุดหมายและความหมายในชีวิตของตนเอง รวมถึงยังมีส่วนช่วยให้เรารู้จักสร้างความสัมพันธ์ในทางบวกกับคนอื่นๆ รอบข้างเราได้อีกด้วย
นอกจากนี้ spiritual well-being ยังอาจเป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันและช่วยซัพพอร์ตในกรณีของการมีปัญหาด้านจิตใจได้อีกด้วย โดยจากวิทยานิพนธ์ฉบับหนึ่งของ พงษ์มาศ ทองเจือ พบว่า spiritual well-being มีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า กล่าวคือ คนที่มี spiritual well-being สูงมีแนวโน้มที่จะเครียดน้อย และเสี่ยงที่จะมีอาการวิตกังวลกับซึมเศร้าน้อยลงไปด้วย
อ่านบทความทั้งหมด >>> ความสุขทางจิตวิญญาณ | หนึ่งในตัวช่วยด้านสุขภาพใจสำหรับพนักงานจนถึงผู้บริหาร
- ตอนที่ 1: ทำสิ่งที่สบายใจ และความเชื่อด้านจิตวิญญาณ
- ตอนที่ 2: ความสุขทางจิตวิญญาณในมุมจิตวิทยา
- ตอนที่ 3: ความสุขทางจิตวิญาณของคนวัยทำงาน
- ตอนที่ 4: การสร้างองค์กรที่มีจิตวิญญาณ
อ่านบทความทั้งหมด >>> เข้าใจคนอื่นหรือเข้าใจตัวเองก่อน? Empathy VS Self-empathy
อ่านบทความทั้งหมด >>> กลยุทธ์การสร้างสังคมการทำงานที่ดีต่อใจ | Strategies for Psychological Healthy Workplaces